นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ตามที่ ทล. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ หมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง จำนวน 2 โครงการ วงเงินก่อสร้างรวม 1,800 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา วงเงินก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท และ 2.โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง วงเงินก่อสร้าง 800 ล้านบาท และได้จำหน่ายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP ) ในช่วงวันที่ 23 ส.ค.-22 ก.ย. 66 โดยมีระยะเวลาสำหรับเอกชนในการจัดเตรียมข้อเสนอประมาณ 3 เดือน และมีกำหนดการรับซองเอกสารข้อเสนอในวันที่ 22 พ.ยคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. 66 นั้น
นายสราวุธ กล่าวต่อว่า เนื่องจากมีเอกชนผู้สนใจซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนได้มีข้อสอบถาม เพื่อขอคำชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสาร RFP มาเป็นจำนวนมาก และมีประเด็นที่ ทล. จำเป็นต้องพิจารณาและตรวจสอบรายละเอียด เพื่อให้สามารถตอบชี้แจงเอกชน หรือออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนที่แก้ไขหรือเพิ่มเติม (RFP Addendum) ได้อย่างชัดเจนและรอบคอบ ดังนั้น เพื่อให้ ทล. ได้พิจารณาประเด็นข้อคำถามต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ และเพื่อให้เอกชนมีระยะเวลาเพียงพอในการจัดทำข้อเสนอ หลังจากได้รับเอกสารคำชี้แจงหรือ RFP Addendum แล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงเห็นชอบให้มีการขยายกำหนดการรับซองข้อเสนอออกไปอีกประมาณ 1 เดือน เป็นวันที่ 20 ธ.ค. 66 ช่วงเวลา 09.00-15.00 น.
และขยายระยะเวลาเปิดรับคำถามจากเอกชนเพิ่มเติม ถึงวันที่ 15 พ.ย. 66 โดยได้แจ้งให้เอกชนผู้ซื้อเอกสาร RFP ทุกราย ได้รับทราบทั่วกันแล้ว ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา คาดดำเนินการคัดเลือกเอกชนแล้วเสร็จในต้นปี 67 พร้อมลงนามสัญญา และเริ่มต้นก่อสร้างช่วงกลางปี 67 เพื่อเปิดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการบางส่วนในปี 68 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 69 ต่อไป
ผู้สื่อข่าวว่า สำหรับทั้ง 2 โครงการ ทล. มีเอกชนซื้อเอกสารร่วมลงทุนดังนี้โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา จำนวน 8 ราย ได้แก่ 1.บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด 2.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM4.บริษัท กัลฟ์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด 5.บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด 7.บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ 8.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1.บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด 2.บริษัท กัลฟ์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด 3.บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด และ 5.บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
สำหรับการดำเนินงานโครงการฯ จะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดย ทลคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg. จะส่งมอบพื้นที่โครงการฯ ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างที่พักริมทางและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมถึงมีหน้าที่บริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาโครงการฯ ตลอดจนเป็นผู้มีสิทธิในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรายได้ของโครงการฯ โดยต้องชำระค่าตอบแทนให้ ทล. ตามเงื่อนไขที่กำหนด ภายในระยะเวลาดำเนินโครงการ 32 ปี แบ่งเป็นงาน 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การออกแบบและก่อสร้าง เอกชนมีหน้าที่จัดหาแหล่งเงินทุน ออกแบบและก่อสร้างองค์ประกอบและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมถึงจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และระยะที่ 2 การดำเนินงานและบำรุงรักษา เอกชนมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษา รวมถึงการบริหารจัดการโครงการฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาไม่เกิน 30 ปี ทั้งนี้หากรวมค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี วงเงินลงทุนโครงการรวม 6,233 ล้านบาท ได้แก่ ศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา วงเงิน 3,757 ล้านบาท และสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง วงเงิน 2,476 ล้านบาท
โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา เป็นที่พักริมทางขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณ กม.93+500 มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา ระหว่างทางแยกต่างระดับบางพระ (คีรี) และทางแยกต่างระดับหนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แบ่งพื้นที่เป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งทิศทางมุ่งหน้าออกจากกรุงเทพฯ และฝั่งทิศทางมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ขนาดพื้นที่ฝั่งละ 59 ไร่
โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง เป็นที่พักริมทางขนาดกลาง ตั้งอยู่บริเวณ กม.137+100 มอเตอร์เวย์ หมายเลข 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด อยู่ระหว่างทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ และทางแยกต่างระดับเขาชีโอน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี แบ่งพื้นที่เป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งทิศทางมุ่งหน้าออกจากกรุงเทพฯ และฝั่งทิศทางมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ขนาดพื้นที่ฝั่งละ 38 ไร่
ที่พักริมทางทั้ง 2 แห่ง จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ประกอบด้วย ที่จอดรถ พื้นที่พักผ่อน พื้นที่สีเขียว ห้องสุขา ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ศูนย์บริการข้อมูลจราจรและเส้นทางการเดินทาง และการบริการอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เดินทาง
ปัจจุบันมีประชาชนใช้บริการมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 จำนวน 250,000 คันต่อวัน เมื่อโครงการแล้วเสร็จช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้ทางและยกระดับการให้บริการระบบมอเตอร์เวย์สู่มาตรฐานสากล ใช้เป็นจุดแวะพักที่ผู้เดินทางสามารถพักผ่อนอิริยาบถจากการเดินทาง ทำธุระส่วนตัว ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียจากความเหนื่อยล้าหรือหลับในของผู้ขับขี่ ช่วยให้ผู้ใช้ทางประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเข้า-ออกมอเตอร์เวย์โดยไม่จำเป็น