สรุปประเด็นดราม่า “ดารุมะซูชิ” จากจุดเริ่มต้นจนถึงวันพิพากษา!

จากกรณีศาลอาญายกฟ้องคดีฉ้อโกง นายเมธา ชลิงสุข หรือ “บอนนี่” เจ้าของร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่น “ดารุมะซูชิ” จากปมลวงขายคูปอง-แฟรนไชส์ เนื่องจากศาลเห็นว่าไม่มีเจตนาจะหลอกลวง แต่เป็นการบริหารงานผิดพลาด เหตุที่เกิดจึงเป็นการผิดสัญญาเป็นความผิดทางเเพ่ง

วันนี้ทางพีพีทีวีจึงจะพามาย้อนดูไทม์ไลน์ดราม่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษายกฟ้องในวันนี้ ระหว่างทางเกิดอะไรขึ้นบ้างคำพูดจาก สล็อต777

ยกฟ้องคดีฉ้อโกง “บอนนี่-ดารุมะซูชิ” ปมลวงขายคูปอง-แฟรนไชส์

บอล-เมธา “ดารุมะ ซูชิ” อ้างขายคูปองถูก เพราะหมุนเงินไม่ทัน

ย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2565 “ดารุมะซูชิ” (Daruma Sushi) ร้านบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นชื่อดังที่มีสาขามากกว่า 27 แห่งในกรุงเทพและปริมณฑล ได้ทำการเปิดจำหน่ายวอชเชอร์ หรือ คูปองล่วงหน้า ในราคาใบละ 199 บาท(จากราคาเต็ม 499 บาท) และเปิดขายในแอปพลิเคชั่นของตนเอง โดยมีเงื่อนไขในการซื้อต้องซื้อจำนวน 5 ใบขึ้นไป ด้วยราคาที่ถูกลงสวนทางกับราคาแซลมอน ทำให้ข้อเสนอของวอชเชอร์เป็นที่น่าสนใจ คนแห่ซื้อไปเก็บไว้รวมถึงมีการซื้อเก็บเอาไว้เกร็งราคาอีกด้วย

จากนั้น วันที่ 17 มิถุนายน 2565 กลุ่มเฟซบุ๊ค “กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)” มีกลุ่มลูกค้าได้ตั้งคำถามถึง ร้านดารุมะซูชิ หลังจากที่มีประกาศปิดร้าน 1 วันเพื่อปรับปรุงระบบ ในหลายสาขาพร้อมกัน ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน ร้านดารุมะยังคงปิดตัวอยู่

หลังจากนั้นมีกลุ่มคนบางส่วนได้นำข้อมูลมาโพสต์เพิ่มเติมในกลุ่มเฟซบุ๊ค “กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)” เช่นกัน ว่ามีบางสาขาเริ่มเก็บของบางส่วนออกจากร้าน เรื่องราวเริ่มใหญ่โตขึ้น หลังจากมีการแชร์ข้อมูลที่เกี่ยวกับความผิดปกติของร้านดารุมะ ทำให้ #ดารุมะ ติดเทรนอันดับ 1 บนทวิตเตอร์ขณะนั้น

ต่อมาได้มีผู้จัดการร้านแฟรนไชส์ดารุมะ ออกมาเล่าว่า “บอนนี่” เจ้าของบริษัทดารุมะ กดออกจากกลุ่มไลน์ทุกกลุ่มรวมถึงยังลบไลน์ทิ้ง จนไม่สามารถติดต่อได้ ก่อนที่จะมีข้อมูลเปิดเผยภายหลังว่านายเมธา ได้หนีออกนอกประเทศไปยัง ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตั้งแต่คืนวันที่ 16 มิถุนายน 2565

หลังจากร้าน ดารุมะซูชิ ทั้ง 27 สาขามีการปิดอย่างไม่มีกำหนด ส่งผลให้พนักงานร้านทั้ง 27 สาขา ถูกลอยแพ หลังจากนั้นทำให้พนักงานร้าน รวมถึงผู้ได้รับความเสียหาย มีการรวมตัวกันเอาผิดเจ้าของบริษัท และเรียกร้องให้เจ้าของบริษัทออกมาชี้แจงและรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น

หลังจากนั้นกระแสในโซเชียลยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง และมีคนเข้ามาแฉการทำงานของบริษัทดารุมะเพิ่มขึ้น โดยมีผู้จัดการสาขาคนหนึ่งได้ออกมาบอกว่า บริษัทนี้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากไม่มีทีมบริหารหรือฝ่ายต่างๆในบริษัทเลย

นอกจากนั้นยังมีการแฉอีกว่าบริษัทยังติดค้างค่าปลาแซลมอนกับบริษัทซัพพลายเออร์ถึง 30 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้คนต่างมองว่าเป็นเหมือนกับ “คดีแหลมเกตซีฟู๊ด”

จากนั้นวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ได้ทำการจับกุม “บอนนี่” เจ้าของบริษัทดารุมะ คาสนามบินสุวรรณภูมิ หลังเดินทางกลับมาจากดูไบ โดยถูกออกหมายจับ 2 ข้อหาคือ ข้อหาฐานฉ้อโกงประชาชน และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

วันเดียวกันหลัง “บอนนี่” ถูกจับกุม นักธุรกิจเจ้าของร้านแฟรนไซด์ ดารุมะซูซิกว่า 6 สาขา ได้เดินทางเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค หลังต้องปิดร้าน หยุดกิจการ ส่งผลทำให้เสียหายกว่า 10 ล้านบาท

ส่วน “บอนนี่” หลังถูกจับกุม ตำรวจไม่ให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน และคุมตัวไปฝากขัง พร้อมคัดค้านการประกันตัวต่อศาล โดยตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน กับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานร่วมกันโดยทุจริต หลอกลวง นำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์

ซึ่งหลังจากโดนจุบกุม มีข้อมูลจากสอบปากคำ โดย “บอนนี่” อ้างว่า หมุนเงินไม่ทัน จึงออกโปรโมชั่น คูปองราคาถูก 199 บาท โดยต่อวันขายคูปองได้ 1 ล้านบาท

โดยหลังจากถูกจับกุมตัว “บอนนี่” ไม่ได้รับการประกันตัว และถูกจองจำนับจากนั้นจนถึงวันที่ศาลพิพากา รวมระยะเวลากว่า 1 ปี 8 เดือนด้วยกัน

ล่าสุดวันที่ 15 ก.พ. 67 ศาลอาญายกฟ้องคดีฉ้อโกงของ “นายเมธา ชลิงสุข” หรือ “บอนนี่” โดยระบุ ไม่เข้าข่ายเจตนาจะหลอกลวงเป็นการบริหารงานผิดพลาด มิได้มีเจตนาจะทุจริต เหตุที่เกิดจึงเป็นการผิดสัญญาเป็นความผิดทางเเพ่ง

เช็กสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวดประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์

กทม.เตือนฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ ทะลุระดับสีแดง 17 เขต!

งานนี้พระจะไม่ยุ่ง! ไม่ขอเป็นพยานให้ป้าฮุบบ้านปมคดีครอบครองปรปักษ์