กลุ่มกบฏ ELN ยื่นเงื่อนไข แลกปล่อยตัวพ่อนักเตะดาวดังลิเวอร์พูล

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวที่สร้างความตกใจให้กับผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะแฟนๆ ฟุตบอล หลังมีรายงานว่า “มานูเอล ดิอาซ” พ่อของหลุยส์ ดิอาซ นักเตะชื่อดังของลิเวอร์พูลถูกลักพาตัวไป โดยรัฐบาลโคลอมเบียได้ออกมาระบุว่ากลุ่มกบฏกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติโคลอมเบียหรือ ELN มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ล่าสุด มีรายงานว่ากบฏ ELN ได้ขอการรับประกันความปลอดภัย แลกกับการปล่อยตัวพ่อของหลุยส์ ดิอาซ

พ่อแม่ของ หลุยส์ ดิอาซ แข้งลิเวอร์พูล ถูกลักพาตัวที่โคลอมเบีย คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ลุ้นความคืบหน้า กลุ่มก่อการร้ายจ่อปล่อยตัวพ่อหลุยส์ ดิอาซ

คล็อปป์ ไฟเขียว ดิอาซ สภาพจิตใจไหวพร้อมลงช่วยลิเวอร์พูล หรือไม่

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งรายงานว่า พ่อและแม่ของ ‘หลุยส์ ดิอาซ’ นักฟุตบอลทีมชาติโคลอมเบียและลิเวอร์พูล ถูกลักพาตัวไปโดยกลุ่มมอเตอร์ไซค์ติดอาวุธ ระหว่างที่กำลังเติมน้ำมันอยู่ที่ปั๊มแห่งหนึ่งในเมืองบาร์รานกาส เขตลา กัวฮิราซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศโคลอมเบียติดกับทะเลแคริบเบียน

อย่างไรก็ตาม ไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ แม่ของดิอาซก็ถูกปล่อยตัวออกมา ส่วน “มานูเอล ดิอาซ” พ่อของเขายังคงถูกควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจโคลอมเบียจึงได้เปิดปฏิบัติการค้นหาตัวพ่อของหลุยส์ ดิอาซ พร้อมเสนอเงินรางวัลจำนวน 48,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 1 ล้าน 7 แสนบาท ให้กับผู้ที่มอบข้อมูลและเบาะแสอันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่

กระทั่งวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลโคลออมเบียได้ออกแถลงการณ์ที่ระบุว่า ‘กลุ่มกบฏกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติโคลอมเบียหรือ ELN อยู่เบื้องหลังการลักพาตัวพ่อแม่ของหลุยส์ ดิอาซ พร้อมเรียกร้องให้กลุ่มกบฎปล่อยตัวพ่อของดิอาซอย่างปลอดภัยโดยทันที

หลังแถลงการณ์ออกมาไม่นาน สำนักข่าวรอยเตอร์สก็ได้เปิดเผยว่าตัวแทนของกลุ่มกบฏ ELN ได้ออกมายืนยันว่า พวกเขาได้จับตัวพ่อของหลุยส์ ดิอาซไปจริง และจะปล่อยตัวเขาเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

และเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นโคลอมเบีย กลุ่มกบฏ ELN ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันอีกครั้งว่า พวกเขาจะปล่อยตัว “มานูเอล ดิอาซ” พ่อของหลุยส์ ดิอาซโดยเร็วที่สุด พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า ปฏิบัติการทางการทหารของกองทัพโคลอมเบียที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองบาร์รานกาส รวมถึงปฏิบัติการค้นหามานูเอล ดิอาซ ทำให้กระบวนการปล่อยตัวต้องล่าช้าออกไป

และหากปฏิบัติการทางการทหารยังคงดำเนินในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การปล่อยตัวก็จะล่าช้าไปอีกและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของมานูเอล ดิอาซได้ นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ ELN ยืนยันว่าจะปล่อยตัวมานูเอล ดิอาซอย่างปลอดภัย ทันทีที่พวกเขาได้รับการรับประกันความปลอดภัย

เมื่อวานนี้ ทางการโคลอมเบียได้ออกคำสั่งถอนทหารออกจากพื้นที่เมืองบาร์รานกาส ตามคำเรียกร้องของกลุ่มกบฎ ELN ขณะที่พันเอกโจวานนี คริสตันโช (Giovanni Cristancho) ผู้อำนวยหน่วยต่อต้านการลักพาตัวและขู่กรรโชกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโคลอมเบียระบุว่า เขาหวังว่ากลุ่มกบฏ ELN จะทำตามคำพูดและปล่อยตัวมานูเอล ดิอาซโดยทันที

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลโคลอมเบียและกลุ่มกบฎ ELN กำลังเจรจาสันติภาพ เพื่อยุติความขัดแย้งในประเทศที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 60 ปี กลุ่มกบฏ ELN เป็นใคร และมีความขัดแย้งอย่างไรต่อรัฐบาลโคลอมเบีย

กบฏกลุ่มสุดท้ายในโคลอมเบีย

ช่วงปี 1964 โคลอมเบียเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยมที่ถือว่านองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศในช่วงเวลานี้เองที่ก่อให้เกิดกลุ่มกบฏฝ่ายซ้ายขึ้นมาหลายกลุ่ม โดยกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติโคลอมเบีย หรือ ELN เป็นหนึ่งในนั้น กลุ่มนี้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยขบวนการนักศึกษา หลังได้แรงบันดาลใจจากการปฏิวัติในคิวบาเมื่อปี 1959

พวกเขาเชื่อในลัทธิมาร์กซิสต์ที่ต่อต้านทุนนิยมและต้องการปลดแอกชนชั้นแรงงาน ในระยะแรก พวกเขามีเป้าหมายต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม รวมถึงต้องการกระจายที่ดินซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชนชั้นปกครองเชื้อสายสเปน เพื่อให้บรรดาชาวไร่ชาวนามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทว่าในเวลาต่อมาพวกเขาก็หันมาจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลโคลอมเบีย

การต่อสู้ระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยมดำเนินมาถึง 6 ปี จนกระทั่งในปี 1970 กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็เป็นฝ่ายชนะบรรดาสมาชิกกลุ่มแนวคิดเสรีนิยมรวมถึงกลุ่มกบฏ ELN ต้องหนีเข้าป่าและหลายกลุ่มผันตัวมาเป็นกลุ่มกองโจร

บทบาทของกลุ่มกบฏ ELN ถูกพูดถึงอย่างมากในทศวรรษ 1990 จากการลักพาตัวชาวบ้านไปเรียกค่าไถ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีหารายได้มาสนับสนุนอุดมการณ์ของตนเอง พวกเขายังทำลายทรัพย์สินสาธารณะของรัฐอย่างท่อส่งน้ำมัน ทำลายทรัพย์สินของบริษัทข้ามชาติ นอกจากนั้นยังทำเหมืองแร่ผิดกฎหมายอีกด้วย

กลุ่ม ELN ถือเป็นกบฏกลุ่มสุดท้ายที่ยังปฏิบัติการอยู่ในโคลอมเบีย หลังจากกลุ่มกบฏขนาดใหญ่อย่าง “กบฏฟาร์ก” ได้ทำข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลโคลอมเบียสำเร็จไปเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2016

รัฐบาลโคลอมเบีย เวเนซุเอลา สหรัฐฯ แคนาดา และสหภาพยุโรปถือว่ากลุ่มกบฏ ELN เป็นกลุ่มก่อการร้าย เชื่อกันว่าจำนวนของสมาชิกกลุ่ม ELN ลดลงจาก 5,000 คน ในทศวรรษ 1990 เหลือราว 2,500 คนในปัจจุบัน

ที่ผ่านมา รัฐบาลโคลอมเบียพยายามเจรจาสันติภาพกับกลุ่ม ELN หลายครั้งแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ปัจจัยที่ส่งผลให้ข้อตกลงสันติภาพเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนหนึ่งมาจากการที่สมาชิกกลุ่มกบฏ ELN เองยังคงลักพาตัวผู้คนเพื่อเรียกค่าไถ่ในช่วงการเจรจา

จนกระทั่งในปี 2018 ประธานาธิบดี อิวาน ดูเก ของโคลอมเบียในขณะนั้น มีแนวคิดที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มกบฎและเชื่อว่าพวกเขาควรได้รับบทลงโทษที่รุนแรง ในขณะที่กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่ม ELN ยังคงไม่คืบหน้าประธานาธิบดีดูเกได้ส่งกองกำลังทหารคุมเข้มมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่อันตรายของโคลอมเบีย

จุดแตกหักเกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2019 เมื่อเกิดระเบิดที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจของกรุงโบโกตา เมืองหลวงโคลอมเบีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 20 ราย บาดเจ็บอีก 87 คน โดยกลุ่มกบฏ ELN อ้างว่าพวกเขาอยู่เบื้องหลัง หลังเหตุระเบิด ประธานาธิบดีดูเกระงับการเจรจาเพื่อสันติภาพกับกลุ่มกบฏ ELN ท่ามกลางความกังวลว่าความรุนแรงจะกลับมาอีกครั้ง

พร้อมกับเรียกร้องให้ทางการคิวบาส่งตัวสมาชิก ELN จำนวน 10 รายที่ยังคงอยู่ในกรุงฮาวานาซึ่งเป็นสถานที่เจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลโคลอมเบียและกลุ่ม ELN ให้กลับมารับบทลงโทษ อย่างไรก็ตาม คิวบาปฏิเสธคำขอของ ประธานาธิบดีดูเก เพราะภายใต้เงื่อนไขการเจรจา บรรดาสมาชิก ELN ต้องได้รับความปลอดภัย

จนกระทั่งในเดือนสิงหาคมปี 2022 ผ่านไปกว่า 3 ปีหลังเกิดเหตุระเบิด โคลอมเบียก็ได้ประธานาธิบดีคนใหม่ คือ กุสตาโว เปโตร ถือเป็นครั้งแรกที่โคลอมเบียมีผู้นำมาจากพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ทั้งยังเป็นอดีตสมาชิกกลุ่ม M-19 ย่อมาจากคำว่า 19th of April Movement ซึ่งเป็นกลุ่มกบฎที่ต่อสู้กับรัฐบาลมาก่อน

ประธานาธิบดีเปโตรได้ให้สัญญากับประชาชนว่าจะนำสันติภาพมาสู่ประเทศ หนึ่งในนั้นคือการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มกบฏ ELN เพื่อยุติความขัดแย้งยาวนานเกือบ 60 ปี และในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น การเจรจาสันติภาพก็ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งที่กรุงคาการัส เมืองหลวงของเวเนซุเอลา แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ความพยายามเจรจาสันติภาพยังคงดำเนินเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลโคลอมเบียและกลุ่มกบฏ ELN ได้ประกาศหยุดยิงชั่วคราว 6 เดือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ลักพาตัวพ่อของหลุยส์ ดิอาซ ครั้งนี้ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจส่งผลต่อการเจรจาสันติภาพระหว่าง 2 ฝ่าย

เผยโฉม 86 สาวงาม ชิง Miss Universe 2023 เงื่อนไขใหม่สาวข้ามเพศ-แต่งงาน-มีลูก เข้าประกวดลุ้นมง

โออาร์-บางจาก ลดเบนซินทุกชนิด สูงสุด 2.50 บาท มีผล 7 พ.ย.66 ตามมติ ครม.

สื่อนอกประเมิน นักท่องเที่ยวจีนกำลังหายไปจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย